top of page

การตัดสบง

 

การตัดสบง
            การตัดสบงก็ให้คิดโดยวิธีเดียวกัน เว้นแต่เวลาวัดผ้า จะตัดออกเป็นขัณฑ์ๆ ถ้าสมมติตัดเป็นจีวรขัณฑ์หนึ่งๆ ให้ยาว ๗๐ นิ้ว ถ้าตัดเป็นสบงก็ต้องสมมติขัณฑ์หนึ่งๆ ให้ยาว ๓๕ นิ้ว และไม่ต้องติดดุมและรังดุม นอกนั้นเหมือนกันทั้งหมด สบง เมื่อตัดแล้วคิดหักตอนตะเข็บออกแล้ว ก็คงเป็นสบงกว้าง ๓๔ นิ้ว ยาว ๑๐๕ นิ้ว

อีกวิธีหนึ่ง
            วิธีการตัดอย่างง่ายๆ ให้วัดเอาขนาดศอกของผู้ที่จะครองนั้นกะดังนี้
            ๑. ขัณฑ์กลาง กับขัณฑ์ริมสุดทั้ง ๒ ข้าง ให้วัดขัณฑ์หนึ่งๆ กว้าง ๑ ศอก ๖ นิ้ว ยาว ๔ ศอก ๓ ขัณฑ์ รวมกว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว
            ๒. ขัณฑ์รอง คือต่อจากขัณฑ์กลาง ๒ ข้าง ขัณฑ์หนึ่งๆ กว้าง ๑ ศอก ๓ นิ้ว ยาว ๔ ศอก ๒ ขัณฑ์ รวมกว้าง ๒ ศอก ๖ นิ้ว
            ๓. ต่อจากนั้น ก็ให้ตัดกุสิ และอัฑฒกุสิตามแบบครั้งที่ ๒ ดังกล่าวแล้วในจีวรข้างต้น

ตัดสบง
            ๔. การตัดก็อย่างเดียวกับจีวร เป็นแต่เวลาตัดขัณฑ์ให้ลดความยาวของขัณฑ์หนึ่งๆ ลงเป็น ๒ ศอกเท่านั้น

 

 

สีที่ใช้ย้อม

 

สีที่ทรงอนุญาต
            สีที่ทรงอนุญาตให้ย้อมมี ๒ ชนิด คือ
            สีเหลืองเจือแดงเข้ม ๑ สีเหลืองหม่น เช่นสีแก่นขนุน ที่เรียกว่ากรัก ๑

สีที่ห้ามไม่ให้ย้อมคือ
            สีคราม สีเหลืองล้วน สีแดงล้วน สีบานเย็น สีชมพู สีดำ
            อนึ่ง จะใช้สีกรักผสมกับสีแดง สีเหลืองก็ได้ แต่ส่วนผสมนั้นจะยุติเป็นแน่นอนไม่ได้ เพราะแล้วแต่ว่าสีที่ได้มา               นั้นจะแก่หรืออ่อน ถ้าสีแก่ก็ผสมแต่น้อย สีอ่อนก็ใช้ผสมมาก ข้อสำคัญให้ได้สีดังกล่าว

 

แต่ปัจจุบันใช้แค่สี ราชการ และ สีทอง

ที่ปรึกษา
จุดประสงค์

 

1.เพื่อเป็นการศึกษาความเป็นมาของจีวร

2.เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สถานที่

    ย่านป้อมปราการ

3.เพื่อการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ต้นแบบดั้งเดิม

จัดทำโดย

 

-นักศึกษา วิชาการศึกษารายบุคคล

(Individual Study)

-สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รองศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยโท พิชัย สดภิบาลชาวบ้าน ชุมชนวังกรมสมมตอมรพันธ์

ขอบคุณ ป้าเก่ง (วิทยากร)

ชาวบ้าน ชุมชน บ้านบาตร

 

bottom of page