top of page

จีวร

 

จีวร ถือว่าเป็นธงชัย หรือเครื่องหมายของพระอรหันต์
มีหลักฐานปรากฏในพระคัมภีร์อุบาลีเถราปทาน ว่า 

“บุคคลเห็นผ้ากาสาวพัสตร์ที่ (แม้) เปื้อนอุจจาระที่ถูกทิ้งไว้ตามถนนหนทาง 
ก็ควรประนมมือไหว้ผ้านั้น อันเป็นธงชัยของพระอริยเจ้า ด้วยเศียรเกล้า”

ไตรจีวร หรือ ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่ม ซึ่งหมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ผ้าสังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงฆ์ หรือผ้าจีวรสำหรับห่ม และอันตรวาสก หรือสบงสำหรับนุ่ง แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร โดยไตรจีวรเป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน ๘ อย่าง เรียกว่า”อัฐบริขาร” นอกจากนี้คำว่า “จีวร” ยังใช้หมายถึงเฉพาะผ้าห่มของพระสงฆ์อย่างเดียวก็ได้ เช่น จีวร ที่ใช้ในความหมายว่าผ้าห่มอย่างเดียว มีชื่อเรียกเฉพาะว่าอุตราสงค์
ในช่วงต้นพุทธกาล พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อกันไม่เป็นระเบียบ หรือบางครั้งภิกษุบางรูปได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูกลักขโมยบ่อย ครั้ง เนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากในสมัยพุทธกาล

​ประวัติ จีวร

​ไม่มีที่มาที่แน่ชัดในประวัติศาสตร์แต่เชื่อกันว่า ในสมัยพุทธกาล คือเวลาที่พระพุทธเจ้าโคดมยังทรงพระชนม์อยู่ เวลานั้นก็มีหลักฐานทั้งจากพระไตรปิฎกและหนังสือรุ่นหลัง ๆ ที่เรียกว่าอรรถกถา ยืนยันชัดเจนว่า "คนอินเดียใช้ผ้านุ่งผ้าห่มเป็นผืน ๆ แบบเดียวกันทั้งชายและหญิง"พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเวลานั้นก็เช่นกันกับชาวบ้าน คือใช้ผ้านุ่งผ้าห่มแบบเดียวกัน หากแต่ใช้สีต่างกันเท่านั้นก่อนหน้าที่เจ้าฟ้ามงกุฏจะทรงผนวชนั้น พระไทยสมัยรัชกาลที่ 2 ล้วนแต่ครองผ้าแบบ "พาดมังกร" แบบที่พระมหานิกายในวัดใหญ่ๆ นิยมห่มกัน ครั้นเจ้าฟ้ามงกุฏทรงผนวชแล้ว ภายหลังทรงไปทำอุปสมบทซ้ำในนิกายพระมอญ แล้วทรงให้พระสงฆ์ในสังกัดของพระองค์เปลี่ยนไปครองจีวรแบบพระมอญ จนเป็นปัญหาทางด้านการเมือง เมื่อถูกตำหนิจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระภิกษุวชิรญาณจึงออกคำสั่ง ให้พระธรรมยุติทั้งหมดกลับมาครองผ้าแบบพระไทยตามเดิม แต่ภายหลัง เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แล้ว มีพระสงฆ์ธรรมยุติทำเรื่องร้องเรียนเรื่องการครองผ้า เวลานั้นรัชการที่ 4 ทรงเลี่ยงบาลีว่า "การครองผ้าเป็นเรื่องของพระสงฆ์ โยมเป็นฆราวาสไม่สามารถออกความเห็นได้" พระสงฆ์นิกายธรรมยุติเลยดีอกดีใจรีบเปลี่ยนมาใช้สไตล์มอญกันจนเกร่อทั่วเมืองไทยในปัจจุบันนี้ ในประเทศไทย รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 และถือเป็นครั้งที่ 2 ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน ณ วัดมหาธาตุทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย ทรงจัดให้มีการสอบพระปริยัติธรรม ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสถาปนาพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช

ที่ปรึกษา
จุดประสงค์

 

1.เพื่อเป็นการศึกษาความเป็นมาของจีวร

2.เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สถานที่

    ย่านป้อมปราการ

3.เพื่อการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ต้นแบบดั้งเดิม

จัดทำโดย

 

-นักศึกษา วิชาการศึกษารายบุคคล

(Individual Study)

-สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รองศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยโท พิชัย สดภิบาลชาวบ้าน ชุมชนวังกรมสมมตอมรพันธ์

ขอบคุณ ป้าเก่ง (วิทยากร)

ชาวบ้าน ชุมชน บ้านบาตร

 

bottom of page